ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มองสถานการณ์การเมืองโดยเฉพาะวันนี้ (13 ก.ค.)ที่มีการโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ซึ่งหากไม่ลงตัว จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจถึง 3 เรื่องด้วยกัน โดยเฉพาะหากมีการตั้งรัฐบาลล่าช้า จะส่งผลให้การใช้จ่ายภาครัฐ เบิกจ่ายงบประมาณต่าง ๆ ล่าช้าตามไปด้วย
เอกชนติดตาม "โหวตนายกฯ " หวังราบรื่นเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ
ห่วงจัดตั้งรัฐบาลล่าช้ากระทบการลงทุน-ท่องเที่ยว
ประเมินว่า หากมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม งบประมาณก็น่าจะผ่านได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกรณีนี้ถือว่าล่าช้าแล้ว
ถ้ายิ่งหากยังล่าช้าไปมากกว่านี้โอกาสที่ไตรมาส 4 ประเทศไทยจะไม่มีงบประมาณภาครัฐเข้ามาในระบบเศรษฐกิจจะขาดหายไป อย่างไรก็ตาม ใช้จ่ายภาครัฐไม่ใช่สัดส่วนที่ใหญ่นักในระบบเศรษฐกิจ อาจจะต้องไปดูเรื่องการลงทุนของภาครัฐ ที่โครงการใหม่ๆ จะไม่เกิดขึ้น โครงสร้างพื้นฐานที่วางแผนไว้ต้องเลื่อนออกไป
สิ่งสำคัญที่จะถูกกระทบคือการลงทุนภาคเอกชน เพราะการไม่มีรัฐบาลใหม่ ย่อมไม่มีนโยบายเศรษฐกิจ ไม่มีงบประมาณ การลงทุนจากต่างชาติที่จะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ก็ย่อมลังเลไม่ตัดสินใจเข้ามาลงทุน ดังนั้น 3 ปัจจัยนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยได้
เศรษฐกิจไทยยังโต แม้ไร้รัฐบาลอำนาจเต็ม
มุมมองของ CIMB ไทย ยังไม่ได้มองว่าเศรษฐกิจครึ่งหลังของปี 2566 จะเกิดอาการทรุดตัวหากไม่มีรัฐบาลยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะโตได้ประมาณ 3-5% หากมีรัฐบาล
แต่ในกรณีเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองเศรษฐกิจไทยอาจเติบโตลดน้อยลงได้เช่นกัน แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องเลวร้าย เนื่องจากสมมติฐานว่า
ไม่มีรัฐบาล แต่มีความสงบ ภาคการท่องเที่ยว การส่งออกยังเดินฟื้นตัวต่อไปได้ เชื่อว่าจีดีพี ปี 2566 จะโตได้ราว 3.3% หรือกรณีเลวร้ายแต่ไม่รุนแรง จีดีพี อาจคงอยู่ที่ระดับ 3%
เขาย้ำว่า แม้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยที่ไม่มีรัฐบาลอำนาจเต็มยังประคับประคองต่อไปได้ เพียงแค่ไม่มีตัวเร่งให้เศรษฐกิจเติบโตมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องไม่นานจนเกินไป เพราะความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ กำลังซื้อของประชาชนอาจจะได้รับผลกระทบตามไปได้เช่นเดียวกัน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจโลก การส่งออกได้รับผลกระทบ ปัญหาภัยแล้งกระทบภาคเกษตร ต้องออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร แล้วต้องรอรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการงบประมาณคำพูดจาก สล็อต777
กรณีเลวร้ายแม้ชุมนุมการเมือง เศรษฐกิจไทยก็ยังไปได้ แบบ "เทฟล่อนไทยแลนด์"
ส่วนกรณีเลวร้าย โหวตไม่ผ่าน หรือพลิกขั้วอำนาจ จนเกิดการประท้วงความวุ่นวายขึ้น ผลกระทบอย่างแรกคือ ตัวความหวังอย่างภาคการท่องเที่ยว ที่ควรจะเป็นตัวเร่งของเศรษฐกิจอาจโดนผลกระทบได้ แต่ก็ต้องดูให้ดีเช่นเดียวกัน เพราะการประท้วงที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยในอดีต ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะอยู่เฉพาะกรุงเทพฯ
ส่วนนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย ชาวยุโรปเขาสามารถเลือกไปเที่ยวจังหวัดอื่นๆ เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา ทดแทนได้อยู่แล้ว จึงยังเชื่อมั่นว่าประเทศไทยเป็นเหมือน กระทะเทฟล่อน (Teflon Thailand) มีการกระจายตัวได้อยู่ต่อให้มีปัญหาเกิดขึ้น
ในทางกลับกันหากโหวตรอบเดียวแล้วผ่าน สัญญาณบอกเกิดขึ้นแน่นอน คนที่เคยจับตาดูหรือรอจังหวะ เชื่อว่าเขาตัดสินใจเดินหน้าได้ทันที การย้ายฐานจากจีนมาอาเซียน มีโอกาสอยู่มากมาย เพียงแค่รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาไม่มีเวลาฮันนีมูน มาแล้วต้องเริ่มทำงานทันที
เพราะต้องเร่งดึงดูดต่างชาติให้เข้ามาลงทุน มาเจรจาการค้าเสรีกับชาติพันธมิตรทั้งหลาย ดำเนินมาตรการเชิงรุกเปิดตลาดให้เร็ว รวมถึงภาคตลาดทุน "เงินทุนเคลื่อนย้าย" ต่างชาติเขารออยู่แล้ว หุ้นไทยอาจจะกลับมาฟื้นตัวได้ในกรณีมีรัฐบาลที่พร้อม มีนโยบายที่สนับสนุนตลาดทุนได้ชัดเจน
ขึ้นค่าแรงเติมเงินในกระเป๋า นโยบายเร่งด่วนรัฐบาลใหม่
ด้านนโยบายเร่งด่วน ดร.อมรเทพ มองว่า เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังเติบโตได้ต่อเนื่อง การส่งออก กำลังซื้อระดับกลาง-ระดับบน กับปัญหาของเศรษฐกิจไทยยังมี ยิ่งการกระจายตัวของเศรษฐกิจ รัฐบาลชุดใหม่จึงต้องเข้ามาดูแลให้เม็ดเงินกระจายไปสู่ระบบฐานรากมากที่สุด ภาคเกษตรกร ธุรกิจขนาดเล็กในต่างจังหวัด ดูแลในเมืองที่ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ได้มีรายได้ที่เติบโตจากเงินสะพัดของต่างชาติ
รวมถึงต้องระมัดระวังการใช้มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อยังคงอยู่ หากไปเร่งให้เกิดการใช้จ่ายมากเกินไปสุดท้ายอาจจะวนมาเป็นปัญหาเงินเฟ้อต่อเนื่อง สิ่งที่ต้องทำเร็วที่สุดจึงเป็นการเพิ่มเงินในกระเป๋าของคนในระดับล่างให้ได้ การขึ้นค่าแรงอาจจะมีความจำเป็น และต้องดูแลกลุ่ม SME ด้วยว่าจะรับมืออย่างไรกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น