ซึ่งเป็นผู้เล่นสำคัญทางการเมืองของประเทศมานานกว่า 20 ปี หลังเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการจัดการปัญหาเศรษฐกิจและการรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีแอร์โดอาน จึงออกหาเสียงอย่างหนักในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง
ภาพการหาเสียงครั้งใหญ่ของประธานาธิบดี ‘เรเจพ เทยิพ แอร์โดอาน’ ที่มีขึ้นเมื่อวานนี้ 7 พ.ค.ในกรุงอิสตันบูล ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ
ผู้นำ "ตุรกี" ยอมรับ ดูแลเหตุแผ่นดินไหวบกพร่อง
เลือกตั้ง 2566 : “ชูวิทย์” ชี้พิรุธโกงเลือกตั้งล่วงหน้า? ซัดหลายเคสผิดชัดแต่กกต.ใบ้กิน
มีรายงานว่าผู้เข้าร่วมอาจมีมากถึง 1 ล้าน 7 แสนคน ระหว่างการปราศรัย ประธานาธิบดีแอร์โดอานได้กล่าวถึงความสำเร็จในการบริหารประเทศช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี รวมถึงสัญญาว่าจะแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อซึ่งเป็นวิกฤตใหญ่ของประเทศในขณะนี้ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาราวร้อยละ 50 ให้เสร็จภายในหนึ่งปี
การเลือกตั้งทั่วไปของตุรกีจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค.ที่จะถึงนี้ นี่ถือเป็นการเลือกตั้งที่ประธานาธิบดีแอร์โดอานต้องเจอศึกหนักหากต้องการกลับมาเป็นผู้นำในสมัยที่ 3 เนื่องจากเขาโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากประชาชนว่า รับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤตเงินเฟ้อไม่ได้
ตุรกีเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพมาตั้งแต่ต้นปี 2022 เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 85 ปัจจัยหลักมาจากการบริหารงานของประธานาธิบดีแอร์โดอานที่ลดอัตราดอกเบี้ยจนอยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นการส่งออก ส่งผลให้ค่าเงินลีราตกลงเรื่อยๆ ข้าวของจึงแพงขึ้นวิธีดังกล่าวสวนทางกับนักเศรษฐศาสตร์ที่ระบุว่า ถ้าเงินเฟ้อให้เพิ่มดอกเบี้ย แต่ในมุมของผู้นำตุรกี เขาต้องการปฏิรูปเศรษฐกิจ และมองว่าดอกเบี้ยคือวายร้ายที่ทำให้นายทุนร่ำรวย จึงต้องการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำที่สุด ค่าเงินของตุรกีจึงตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง กำลังจ่ายของชาวตุรกีก็น้อยลง และเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างหนักตามมา ขณะนี้ 2 ใน 3 ของครัวเรือนทั้งหมดในตุรกีประสบปัญหาในการจ่ายค่าอาหารและค่าที่อยู่อาศัย
อีกผลกระทบที่ตามมาคือ เมื่อค่าเงินลีราอ่อนตัว นักลงทุนจึงขายทิ้งและหันไปถือเงินสกุลอื่นแทน กลายเป็นปรากฎการณ์เงินตุรกีไหลออกนอกประเทศ
นอกเหนือจากปัญหาเงินเฟ้อแล้ว อีกปัญหาที่ส่งผลต่อคะแนนนิยมของประธานาธิบดีแอร์โดอานคือ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 40,000 คนเมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ประธานาธิบดีแอร์โดอานถูกวิพากษณ์วิจารณ์เรื่องการรับมือกับภัยธรรมชาติได้ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นการส่งความช่วยเหลือให้ผู้ประสบภัยที่ล่าช้า ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากเข้าไม่ถึงที่พักชั่วคราว ขาดแคลนน้ำและอาหาร ขณะที่สถานที่พักพิงก็ขาดสุขอนามัยท จนทำให้เกิดโรคระบาดที่มาจากน้ำ
อีกหนึ่งเรื่องที่เขาถูกโจมตีอย่างหนักคือ เรื่องความล้มเหลวของรัฐบาลในการควบคุมมาตรฐานการก่อสร้างอาคาร ตุรกีเป็นหนึ่งในประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง เพราะตั้งอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนแผ่นดินไหว
เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของตุรกีเกิดขึ้นเมื่อปี 1999 ทำให้อาคารบ้านเรือนจำนวนมากพัง และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 18,000 ราย จากควาสูญเสียดังกล่าวรัฐบาลจึงบังคับใช้กฎหมายควบคุมมาตรฐานการก่อสร้างอาคารในปี 2004 โดยกำหนดให้การสร้างอาคารต้องได้มาตรฐาน ทนทานต่อแผ่นดินไหวได้ จากนั้นในปี 2018 กฎหมายดังกล่าวถูกปรับให้เข้มงวดยิ่งขึ้น
แต่ดูเหมือนว่าการบังคับใช้กฎหมายจะหละหลวม เพราะในเหตุแผ่นดินไหวล่าสุด อาคารบ้านเรือนจำนวนมากที่พังทลาย ส่วนใหญ่เป็นอาคารใหม่ที่สร้างหลังปี 2004 ทั้งสิ้น ความสูญเสียที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นนี้ ทำให้ประธานาธิบดีเออร์โดอานและรัฐบาลถูกวิจารณ์อย่างหนัก
กระแสด้านลบของประธานาธิบดีแอร์โดอาน ที่มีบทบาทในการเมืองของประเทศมายาวนานกว่า 20 ปี อาจทำให้ประธานาธิบดีแอร์โดอาน ไม่สามารถชนะการเลือกตั้งในปีนี้ได้อีกครั้ง เพราะผู้ท้าชิงจากพรรคฝ่ายค้านมีคะแนนนิยมที่–สูสีกับเขา
คู่แข่งที่สำคัญของแอร์โดอานคือ ‘เคมัล คิลิกดาโรกลู’ วัย 74 ปี หรือที่มีฉายาว่า ‘คานธี เคมัล’ คานธี เคมัล เป็นตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้านตุรกี 6 พรรคที่ผนึกกำลังกันเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีเรเจพ เทยิพ แอร์โดอานประธานาธิบดีแอร์โดอานและเคมัลมีบุคลิกและแนวทางที่ต่างกันอย่างชัดเจน
ประธานาธิบดีแอร์โดอานถูกมองว่าใช้ไม้แข็งในการปกครอง ในช่วงของการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 แอร์โดอานประกาศกระชับอำนาจด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีผลให้อำนาจของรัฐสภาลดลงและเพิ่มอำนาจของประธานาธิบดีมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปราบปรามกลุ่มกบฏชาวเคิร์ดซึ่งเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของตุรกี ให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อำนาจใหม่ที่ประธานาธิบดีแอร์โดอานได้รับ รวมไปถึงการเลือกรัฐมนตรี ผู้พิพากษาศาลสูงสุด และยกเลิกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยตัวเอง ส่งผลให้เขาได้กลายเป็นผู้นำที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของตุรกี นับตั้งแต่ มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ผู้ก่อตั้งตุรกีและประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ
การเพิ่มอำนาจของประธานาธิบดีของแอร์โดอานถูกวิพากษณ์วิจารณ์จากฝ่ายค้านอย่างหนัก โดยระบุว่า นี่คือการรวบอำนาจให้อยู่ในมือของบุคคลคนเดียวและทำให้การบริหารประเทศขาดการตรวจสอบแและการถ่วงดุล
ในขณะที่แอร์โดอานใช้แนวทางกระชับอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง เคมัลมีแนวทางที่ต่างออกไป ในระหว่างหาเสียง เคมัลได้ให้คำมั่นกับผู้สนับสนุนว่า จะปกครองประเทศผ่านการหารือและทำประชามติร่วมกัน และจะพยายามคืนอำนาจให้กับรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนอีกครั้ง โดยนักวิเคราะห์มองว่าหากเคมัลชนะเลือกตั้ง ตุรกีภายใต้การนำของเขาจะมีแนวทางที่นุ่มนวลกว่า รวมถึงจะมีท่าทีที่เป็นมิตรกับบรรดาชาติตะวันตกมากขึ้นด้วย
จากผลสำรวจความเห็นประชาชนของสื่อแทบทุกสำนักในตุรกี เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือคะแนนนิยมของทั้งคู่นั้นสูสีกันมาก นี่ทำให้หลายคนมองว่า ตุรกีอาจต้องจัดการเลือกตั้งรอบ 2 หากทั้ง 2 ฝ่ายไม่มีใครได้เสียงสนับสนุนเกินร้อยละ 50
ครั้งสุดท้ายที่ตุรกีจัดการเลือกตั้งคือเมื่อปี 2018 ในปีนี้จึงมีผู้ที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกมากเกือบ 6 ล้านคนจากผู้ที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงกว่า 64 ล้านคน
นักวิจัยด้านการสำรวจความเห็นประชาชนรายนี้บอกว่า เนื่องจากแอร์โดอานเป็นสายอนุรักษ์นิยม จึงทำให้เขาไม่ค่อยได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนกลุ่มอายุ 18-32 ปี รวมถึงผู้ที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงครั้งแรก
ล่าสุด ทางการตุรกีได้เผยแพร่ภาพบัตรลงคะแนน ที่จะใช้สำหรับการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ โดยบัตรเลือกพรรคของตุรกี จากภาพจะเห็นได้ว่ามีโลโก้พร้อมชื่อของพรรคต่างๆ แสดงอยู่บนบัตร ขณะที่บัตรสำหรับลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีตุรกี ในบัตรจะปรากฎทั้งชื่อและภาพของผู้สมัครทุกคนอย่างชัดเจน
คำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง