หลังจากที่เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีการเปิดเผยภาพปรากฏการณ์ “ไอน้ำพวยพุ่ง” ออกมาจากรอยแตกบนพื้นผิวของ “เอนเซลาดัส” (Enceladus) ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ พร้อมข้อสันนิษฐานว่า เป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีแนวโน้มมากที่สุดในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
ล่าสุด มีการรายงานค้นพบองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของ “ชีวิต” บนดวงจันทร์เอนเซลาดัส โดยตรวจพบ “ฟอสฟอรัส” (Phosphorus) ในเม็ดน้ำแข็งซึ่งถูกปล่อยออกสู่อวกาศในปรากฏการณ์ไอน้ำพวยพุ่ง
อดีตจนท.ข่าวกรองอ้าง สหรัฐมี “ยานพาหนะมนุษย์ต่างดาว” ไว้ในครอบครอง
“เจมส์ เว็บบ์” บันทึกปรากฏการณ์ “ไอน้ำพวยพุ่ง” จากดวงจันทร์ของดาวเสาร์
“ดาวเสาร์” ทวงคืนบัลลังก์ ดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์มากสุดในระบบสุริยะ
มีมหาสมุทรอยู่ใต้พื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งหนาของเอนเซลาดัส และมวลสารต่าง ๆ จะถูกปล่อยออกมาจากปรากฏการณ์ไอน้ำพวยพุ่ง วัตถุหรือองค์ประกอบใด ๆ ที่พุ่งออกมาจะไปรวมอยู่ในวงแหวนชั้นนอกสุดของดาวเสาร์
นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลจากภารกิจแคสสินี (Cassini) ของนาซา ซึ่งศึกษาดาวเสาร์และดวงจันทร์บริวารระหว่างปี 2004-2017 ยานอวกาศบินผ่านเอนเซลาดัสและวงแหวนชั้นนอกสุดของดาวเสาร์หลายครั้ง และเครื่องวิเคราะห์ฝุ่นของแคสสินีก็ได้ตรวจพบ “แร่ธาตุและสารประกอบอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิต”
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยตรวจพบการมีอยู่ของโซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน และสารประกอบคาร์บอเนตในเม็ดน้ำแข็งที่เก็บรวบรวมและวิเคราะห์โดยยานแคสสินี และล่าสุดก็ได้ค้นพบ “ฟอสฟอรัส” เพิ่มอีกหนึ่งชนิด
ดร.แฟรงก์ โพสต์เบิร์ก หัวหน้าทีมวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยฟรีอีแห่งเบอร์ลิน กล่าวว่า “ฟอสฟอรัสในรูปของฟอสเฟตมีความสำคัญต่อทุกชีวิตบนโลก … มันจำเป็นสำหรับการสร้าง DNA และ RNA เยื่อหุ้มเซลล์ และ ATP (ตัวให้พลังงานในเซลล์) เป็นต้น ดังนั้นชีวิตจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีฟอสเฟต
นี่เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบฟอสฟอรัสในมหาสมุทรนอกโลก โพสต์เบิร์กกล่าวว่า “แบบจำลองธรณีเคมีก่อนหน้านี้ทำให้เกิดคำถามว่า มหาสมุทรของเอนเซลาดัสมีปริมาณฟอสเฟตที่มีนัยสำคัญหรือไม่”
ข้อมูลจากการศึกษาเม็ดน้ำแข็งที่พุ่งออกมาพร้อมไอน้ำจากเอนเซลาดัส เผยให้เห็นความเข้มข้นสูงของโซเดียมฟอสเฟต (โมเลกุลของโซเดียม ออกซิเจน ไฮโดรเจน และฟอสฟอรัส ที่เชื่อมด้วยกันทางเคมี)
นักวิจัยกล่าวว่า การตรวจจับฟอสฟอรัสและสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ ในมหาสมุทรของเอนเซลาดัสโดยรวมบ่งชี้ว่า มันเป็นสถานที่ที่สามารถดำรงชีวิตได้หากมีฟอสฟอรัสอยู่บนดวงจันทร์เอนเซลาดัส
โพสต์เบิร์กกล่าวว่า “ส่วนสำคัญของความสามารถในการอยู่อาศัยคือ เราพบฟอสเฟตที่ละลายในมหาสมุทรของเอนเซลาดัส และพร้อมสำหรับการก่อเกิดของชีวิต”
เขาเสริมว่า “ในกรณีส่วนใหญ่ ฟอสเฟตมักจะอยู่ในแร่ธาตุที่เป็นหิน แต่บนเอนเซลาดัส ฟอสเฟตจะอยู่ในรูปของเกลือในมหาสมุทร”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นักวิจัยยังได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อสร้างแบบจำลองมหาสมุทรของเอนเซลาดัส และพบว่าความเข้มข้นของฟอสเฟตอาจสูงกว่ามหาสมุทรบนโลก 100-1,000 เท่า เนื่องจากมหาสมุทรบนเอนเซลาดัสมีลักษณะเป็น “มหาสมุทรโซดา” หรือมหาสมุทรที่อุดมไปด้วยคาร์บอเนตและคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถละลายฟอสเฟตจำนวนมากที่อยู่ในแร่ธาตุที่เป็นหินได้
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีการค้นพบส่วนประกอบของชีวิตและเงื่อนไขสำหรับการอยู่อาศัยบนเอนเซลาดัส แต่ก็ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตจริง ๆ กระนั้น การค้นพบครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มให้ความสนใจกับดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ที่เป็นน้ำแข็งคล้าย ๆ เอนเซลาดัสที่มีอยู่ทั่วระบบสุริยะ ว่าอาจเป็นสถานที่ที่มีโอกาสพบสิ่งมีชีวิตนอกโลก
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก AFP / Shutterstock