ขนของเจ้าตัวเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าน่าเอ็นดูอย่างสลอธที่ใครหลายคนรู้จัก ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากคอสตาริกาค้นพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียที่สามารถพัฒนาไปเป็นยารักษาโรคดื้อยาปฏิชีวนะของคนได้ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่าในขนของเจ้าสลอธนั้นมีแมลง สาหร่าย เชื้อรา และแบคทีเรียอาศัยอยู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีจุลินทรีย์เล็กๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยยะ
อย่างไรก็ตาม แมกซ์ ชาวาร์เรีย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอสตาริกา บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่าหากดูที่ขนฟูๆ ของเจ้าสลอธ จะเห็นความเคลื่อนไหวไปมา
เปิดตัวเหรียญที่ระลึกพิธีบรมราชาภิเษก "พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3"
"บิ๊กโจ๊ก" ขยายผลคดีแอม จ่อรวบคนใกล้ชิดอีก 1-2 คน
เช่น เราจะเห็นผีเสื้อกลางคืน แมลงหลากหลายชนิด ซึ่งกลายเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ที่น่าทึ่งมาก มากไปกว่านั้น ที่สังเกตเด่นชัดคือการที่สัตว์ต่างๆ มีชีวิตอยู่ในนั้น หมายวามว่าจะต้องมีระบบที่เอื้อให้พวกมันใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้
ขณะที่ ชาวาร์เรียและทีมวิจัยได้เก็บตัวอย่างขนของสลอธ 2 นิ้วและ 3 นิ้วไปเพื่อไปหาที่มาของการวิจัยเพิ่มเกี่ยวกับระบบนิเวศภายในขนของพวกมัน ก่อนที่จะพบว่าการดำรงอยู่ของกระบวนการผลิตแบคทีเรียตัวหนึ่งในขนของพวกมันนั้นสามารถสร้างยาปฏิชีวนะได้ หรืออธิบายได้ว่าแบคทีเรียตัวนั้นสามารถลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียอื่นที่ก่อให้เกิดโรคได้ หรือมันไปฆ่าศัตรูที่แฝงอยู่ในตัวอื่นๆ ของขน เช่น เชื้อรา ซึ่งข้อมูลนี้มีการตีพิมพ์ลงไปในวารสารจุลชีววิทยา Environmental Micro biology ด้วย
สลอธ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลเดียวกับนางอายและตัวนิ่ม สลอธที่พบส่วนใหญ่ มี 2 สายพันธุ์หลักคือสองนิ้วและสามนิ้ว ทุกคนรู้จักสลอธในอิริยาบถเด่นชัดคือ การใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า หรือ สโลว์ ไลฟ์ เพราะพวกมันเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้านั่นเอง มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ แต่ปัจจุบันพบมากในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้
อุปนิสัยของมันคือชอบนอนห้อยตัวบนต้นไม้สูงๆ และมักจะทำทุกสิ่งบนนั้นไม่ว่าจะพักผ่อน กิน เล่น ผสมพันธุ์ หรือแม้ตอนตาย ยกเว้นแต่เวลาจะขับถ่ายจะหาแหล่งน้ำเท่านั้น สลอธนอนเป็นหลัก ซึ่งเรียกได้ว่านั่นคือกิจวัตรประจำวัน
จากข้อมูลขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ World Wild Fund for Nature : WWFระบุว่าสลอธนอนเฉลี่ยวันละ 15 ชั่วโมง ส่วนเหตุผลว่าทำไมพวกมันถึงเคลื่อนไหวได้เชื่องช้านั่นก็เพราะว่าพวกมันมีกระบวนการเผาผลาญที่ค่อนข้างต่ำมากๆ จึงทำให้มันเฉื่อยชา คล้ายมนุษย์ที่เคลื่อนไหวเชื่องช้าก็จะมีเมตาบอลิซึม หรือระเบบเผาผลาญทำงานน้อยกว่าคนที่มักจะไม่อยู่กับที่นั่นเอง
สลอธนับว่าเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของคอสตาริกา และยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวประเทศในแถบอเมริกากลางมากขึ้นด้วย สายพันธุ์สลอธ 2 นิ้ว และ 3 นิ้วนั้น แม้จะพบเป็นส่วนใหญ่ แต่ข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ที่อยู่ในบัญชีแดงใกล้สูญพันธุ์ระบุว่าสิ่งที่น่ากังวลอยู่ ณ ขณะนี้คือประชากรของสลอธ 2 สายพันธุ์มีจำนวนน้อยลง
ขณะที่ชีวิตส่วนใหญ่ของสลอธอยู่บนต้นไม้เป็นหลัก เช่น ในป่าแถบชายฝั่งแคริบเบียนที่ซึ่งมีอุณหภูมิที่ร้อนและชื้น แต่ขณะเดียวกันก็พบสลอธบาดเจ็บจากการพบเจอคนและสัตว์อื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน จูดี อเวย์ ชาวอเมริกันผู้ซึ่งสร้างค่ายรักษาสลอธที่บาดเจ็บก่อนที่มันจะหายดีและพาปล่อยกลับคืนสู่ป่า จูดีบอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เธอและทีมงานไม่เคยเจอเคสสลอธป่วยเลย แต่กลายเป็นการบาดเจ็บจากการเกี่ยวข้องกับคน เช่น สายไฟฟ้าไหม้แขนของพวกมัน แต่ไม่ติดเชื้อ
จูดีบอกว่าตั้งแต่ที่เธอเปิดค่ายรักษานี้มาประมาณ 30 ปีกับสามีชาวคอสตาริกาที่เสียชีวิตไปแล้ว เคยเจอสัตว์ที่บาดเจ็บจากการติดเชื้อแค่ 5 ตัวเท่านั้น ขณะเดียวกันจูดียังบอกด้วยว่าตั้งแต่ค่ายรักษานี้ไม่เคยได้ยินข่าวเลยว่าสลอธได้กลับบ้านของพวกมันที่รัฐอะแลสกา ซึ่งตั้งอยู่ในแถบอเมริกาเหนือที่เป็นบ้านเกิดของพวกมัน จูดี และค่ายรักษาแห่งนี้รับสลอธตัวแรกมาดูแล รักษาอาการในปี 1992 ตั้งชื่อว่า “บัตเตอร์คัพ” และหลังจากนั้นที่นี่ก็รักษาสัตว์ต่อเนื่องมากว่า 1,000 ตัว
นักวิจัยชาวาร์เรีย ได้เก็บตัวอย่างขนของสลอธจากในค่ายรักษาของจูดีเพื่อไปทดสอลในห้องแลป โดยเขาเริ่มค้นคว้าวิจัยมาตั้งแต่ปี 2020 และได้เชื้อจุลินทรีย์แตกแขนงออกมากว่า 20 ประเภทที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ ขณะที่ในส่วนของการต่อยอดว่าสามารถพัฒนาเป็นยารักษาโรคในมนุษย์ได้หรือไม่ ชาวาร์เรียระบุว่าสิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจทุกอย่างอย่างถี่ถ้วนก่อน เช่น โมเลกุลประเภทไหนบ้างที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตัวอย่างของยาปฏิชีวนะถูกค้นพบในปี 1928 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ชื่อว่า “อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง” ซึ่งเขาพบว่าเห็ดราในห้องแลปมีการปนเปื้อนแต่เชื้อที่พบนั้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวก่อโรคได้ ต่อมาเขาได้กลายเป้นบุคคลแรกของโลกที่คิดค้นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือ แอนติไบโอติก และนั่นคือความสำเร็จในวงการแพทย์ทั่วโลกที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี 1945 แต่กระนั้น ในเวลาต่อมามียาปฏิชีวนะออกมามากมาย และขยายวงกว้างทั่วโลกจนทำให้ผู้ป่วยบางรายดื้อยา หรือยาปฏิชีวนะนั้นไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ร่างกายได้ โรคนี้ทางการแพทย์รู้จักกันว่าคือ “ซูเปอร์บักส์” ซึ่งถือเป็ยภัยเงียบที่อาจทำให้ผู้ป่วยรายนั้นถึงแก่ชีวิต โดยองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี 2050 การดื้อยาอาจเป็นสาเหตุทำให้มีคนเสียชีวิตมากถึง 10 ล้านคนต่อปี ฉะนั้น ชาวาร์เรียจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยที่เขาขะมักเขม้นอยู่นี้ จะสามารถช่วยยับยั้งมหันตภัยนั้นได้ไม่มากก็น้อย
เตือนฉบับ 1 "พายุฤดูร้อน" ถล่มตอนบน 8-10 พ.ค. ภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมาก
ครอบครัวลอยอังคาร "จีจี้" พ่อคาใจ 19 วันคดีไม่คืบ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง